ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ Zipmex เปิดการซื้อขาย – ฝากถอนตามปกติ

ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ Zipmex เปิดการซื้อขาย – ฝากถอนตามปกติ

สำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีคำสั่งให้ Zipmex เปิดให้มีการซื้อขายตามกฎการแลกเปลี่ยนซื้อขาย และฝาก/ถอนสินทรัพย์ดิจิทัลตามปกติ แต่ก็ให้มีการพิจารณาในการดำเนินการอย่างถี่ถ้วน (26 ก.ค. 2565) สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เผยแพร่คำสั่งให้ทาง Zipmex หรือบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด เปิดให้มีการซื้อขายตามกฎระเบียบการแลกเปลี่ยนซื้อขาย (Trading rules) และการฝาก/ถอนสินทรัพย์ดิจิทัลตามปกติ แต่ทั้งนี้แล้วนั้นก็มีการกำชับแก่ทางบริษัทให้มีการพิจารณาการดำเนินการอย่างถี่ถ้วน

รายละเอียดของประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด นั้น มีด้วยกันดังนี้

ตามที่ปรากฏว่า Zipmex ยังไม่ได้เปิดให้มีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Trading rules) ของบริษัทตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) รวมทั้งยังไม่เปิดให้ลูกค้าฝาก/ถอนสินทรัพย์ดิจิทัลใน Trade Wallet ได้ครบทุกเหรียญซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน

คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 พิจารณาแล้ว อาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มีมติสั่งการให้บริษัทเปิดให้ซื้อขายตามหลักเกณฑ์ Trading rules ของบริษัทที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. รวมทั้งเปิดให้ลูกค้าสามารถฝาก/ถอนสินทรัพย์ดิจิทัลได้ โดยใช้ความระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อเป็นการเพิ่มความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินของลูกค้า และเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการของลูกค้าในการซื้อขาย หรือฝาก/ถอนสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยในระหว่างนี้ ให้บริษัทพิจารณาการรับลูกค้าใหม่ให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ โดยให้คำนึงถึงลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความซับซ้อนและความหลากหลายของธุรกิจและบริการ ตลอดจนความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาให้บริษัทดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. มีหนังสือแจ้งคำสั่งคณะกรรมการ ก.ล.ต.

คุณสมบัติของผู้กู้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน

ผู้กู้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ของ ธนาคารออมสิน จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. ผู้กู้จะต้องเป็นผู้ประกอบการรายย่อย หรือ ผู้มีรายได้ประจำ

2. ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หากนำอายุของผู้กู้มารวมกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้จะต้องไม่เกิน 60 ปี สำหรับกรณีที่ผู้กู้มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จำเป็นต้องให้ผู้ปกครองทำหนังสือให้ความยินยอมในการจัดทำนิติกรรมสัญญา

3. ผู้กู้สินเชื่อต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน และสามารถติดต่อได้

4. ผู้กู้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนต้องมีสถานที่ประกอบอาชีพ หรือที่อยู่อาศัยแน่นอน

5. ผู้กู้จะต้องเปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกที่สาขาที่ยื่นกู้เงินสินเชื่อโครงการธนาคาร

6. หากผู้กู้เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน จะไม่สามารถกู้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนได้

7. จะต้องไม่เป็นผู้กู้สินเชื่อพัฒนาองค์กรชุมชน (รายบุคคล) อเนกประสงค์

เอกสารหลักประกันของสินเชื่อโครงการธนาคารในการกู้เงิน ประชาชนที่ทำการกู้สินเชื่อจำเป็นต้องใช้หลักประกันประเภทหนึ่งประเภทใด ดังนี้

1. ในกรณีที่ใช้บุคคลค้ำประกัน ผู้ที่ค้ำประกันจะต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน และพนักงานธนาคารออมสินไม่สามารถค้ำประกันได้ โดยจะค้ำประกันให้ผู้กู้สินเชื่อโครงการธนาคารออมสิน ได้ไม่เกิน 2 สัญญา หรือรวมทุกสัญญา 200,000 บาท เท่านั้น

หลักเกณฑ์เพิ่มเติม คือ ผู้ที่กู้สินเชื่อในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ และสำหรับผู้ที่กู้วงเงิน 50,001 – 200,000 บาท จะต้องเป็นผู้ที่ธนาคารให้ความน่าเชื่อถือ หรือประกอบอาชีพ มีรายได้แน่นอน เท่านั้น

2. หลักประกันประเภทอื่น ๆ ของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้นำมาใช้ค้ำประกันได้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด ที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ ให้นำมาเป็นหลักประกันได้ร้อยละ 100 ของราคาประเมิน ทั้งนี้ผู้ค้ำประกันต้องไม่เป็นเจ้าของหลักประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เงินในฉบับเดียวกัน

3. หลักประกันทางธุรกิจที่ธนาคารออมสินกำหนดรับเป็นหลักประกันในสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ได้แก่ หนังสือรับรอง สิทธิการเช่าแผงค้า หรือร้าน และยานพาหนะต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบธุรกิจ

สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ของธนาคารออมสิน (GSB) สามารถทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า